วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

การตรวจสอบสภาพอาคาร

การตรวจสอบอาคาร
การตรวจสอบสภาพอาคาร
อภิวัฒน์ ตั้งวิทย์โมไนย
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บทคัดย่อ
การจัดทำบทความ การตรวจสอบสภาพอาคารนี้ได้รวบรวมเนื้อหาที่ประชาชนควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคารและการบังคับใช้กฎหมาย และบทลงโทษของผู้ฝ่าฝืน
Abstract
Preparation of the article. The inspection of building material was collected people should know about Building Control and Law Enforcement Act. And punishment of violations.

Keyword: Preparation , Inspection
1.บทนำ
การตรวจสอบสภาพอาคาร
ตามกฎกระทรวงโดยที่มาตรา ๓๒ ทวิ (๓) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี เพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยในการใช้อาคาร โดยให้มีผลบังคับใช้กับอาคาร 9 ประเภท ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ภายในระยะเวลา 2 ปี
ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบอาคาร ตามหลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 / ตอนที่ 126 ก หน้า 1/29 ธันวาคม พ.ศ. 2548 นั่นหมายความว่า อาคารประเภทที่กำหนดให้มีการตรวจสอบ ต้องตรวจสอบใหญ่ครั้งแรกให้แล้วเสร็จ และเสนอรายงานผลการตรวจสอบ ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ภายในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550
การตรวจสอบอาคาร มีเป้าหมายในการตรวจสอบให้อาคารมีความปลอดภัยทั้งด้านโครงสร้างและระบบประกอบอาคารให้อาคารมีสภาพพร้อมใช้งาน โดยเน้นเรื่องการเตือน ต่อสู้และหนี กรณีมีอัคคีภัย ไม่ใช่เป็นการตรวจเพื่อประเมินราคาของอาคาร และไม่ได้ตรวจว่าอาคารก่อสร้างถูกต้องตาม
กฏหมายหรือไม่
หลักเกณฑ์การตรวจสอบนั้นผมขอเล่าให้ฟังพอสรุป ดังนี้ครับ
อาคารทุกอาคารเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ควรมีระบบปฏิบัติการและบำรุงรักษาอาคารให้อยู่ในสภาพดีอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจเรียกได้ว่า ควรมีระบบ “O and M” โดย “O” ย่อมาจาก Operate หมายถึง ระบบปฏิบัติการ และ “M” ย่อมาจาก Maintenance หมายถึง ระบบการบำรุงรักษา ดังนั้น ระบบ “O and M” จึงหมายถึง ระบบปฏิบัติการและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี เพื่อให้อาคารนั้น ๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และใช้งานได้ตลอดเวลา การตรวจสอบการบำรุงรักษาที่ว่านี้ เจ้าของอาคารสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจมีระบบการตรวจติดตามภายใน ( Internal Audit )ด้วยก็ยิ่งดี และเป็นสิ่งที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนการตรวจสภาพอาคารตามกฎกระทรวงฯ นั้น เป็นการสอบทานหรือตรวจติดตามจากภายนอก ซึ่งเป็นการ Audit โดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งผู้ตรวจสอบที่ว่านี้จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรม การสอบและขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการ
2.วัตถุประสงค์ของกฎหมาย
เหตุผลที่ต้องมีการออกกฏหมายทั้ง 2 ฉบับ นี้
เนื่องจากในอดีตหลังจากอาคารก่อสร้างแล้วเสร็จและได้รับใบรับรองอาคารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะไม่มีกฏหมายหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนในการตรวจสอบการใช้งาน หรือ ระบบต่างๆ ของอาคารโดยเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลอาคารแต่ละแห่ง จนกว่าจะมีการยื่นขออนุญาตแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอาคาร โดยในความเป็นจริง ภายหลังจากเริ่มใช้อาคาร มักจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ วัสดุตกแต่ง ระบบบริการของอาคาร ซึ่งมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร ทั้งนี้อาจจะโดยความไม่ตั้งใจ หรือความไม่รู้ของเจ้าของ หรือผู้ดูแลอาคาร ดั้งนั้นกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบตรวจสอบการใช้อาคารให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคารเป็นหลัก โดยกำหนดหลักเกณฑ์ของ ผู้ตรวจสอบ และ วิธีการตรวจสอบเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
2.1 ประเภทอาคาร ที่ต้องยื่นรายงานการตรวจสอบอาคาร
1. อาคารสูง (อาคารทีมีความสูงตั้งแต่ 23 เมตร ขึ้นไป)
2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ( อาคารที่มีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป )
3. อาคารชุมนุมคน (อาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนมีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป )
4. โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับ ฉายภาพยนต์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม )
5. โรงแรม ตามกฏหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
6. สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
7. อาคารชุด ตามกฏหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป โดยมีบทเฉพาะกาลดังนี้
อาคารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นเป็นเวลา 7 ปี นับจากวันที่กฏกระทรวงนี้บังคับใช้ ( กฏกระทรวงบังคับใช้วันที่ 25 ตุลาคม 2548 ) ดังนั้นต้องยื่นรายงานการตรวจสอบครั้งแรกภายใน วันที่ 24 ตุลาคม 2555
อาคารที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่กฏกระทรวงนี้บังคับใช้ ( กฏกระทรวงบังคับใช้วันที่ 25 ตุลาคม 2548 ) ดังนั้นต้องยื่นรายงานการตรวจสอบครั้งแรกภายใน วันที่ 24 ตุลาคม 2553
8. อาคารโรงงาน ตามกฏหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่า หนึ่งชั้น และมี พื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
ข้อสังเกตุ ในกรณีที่อาคารโรงงานมีความสูง 23 เมตรขึ้นไป หรือ มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป ต้องถูกตรวจสอบเพราะเข้าข่ายอาคารสูงหรือ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
9. ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือ มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร ขึ้นไป หรือ ป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตร ขึ้นไป
2.2 บุคคลธรรมดา/นิติบุคคลที่เป็นผู้ตรวจสอบ
บุคคล
- วิศวกร
- สถาปนิก
เงื่อนไขสำคัญ
- ผู้ตรวจสอบต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
- ผู้ตรวจสอบต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรและสอบตามเกณฑ์ที่กรมโยธาฯกำหนด
- ผู้ตรวจสอบต้องทำประกันภัยสำหรับผู้ประสบเหตุ วงเงินอย่างน้อย 2 ล้านบาท
รายการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร
2.3 การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้
1) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
2) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
3) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
4) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
5) การชำรุดสึกหรอของอาคาร
6) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
7) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
2.4 การตรวจสอบขั้นต้น
- การตรวจสอบลักษณะเพื่อยืนยันข้อมูลจากแบบ
- การตรวจสอบขั้นต้นด้วยสายตา หรือเครื่องมือง่าย ๆ
- การประเมินสภาพเบื้องต้น
- พบการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบันทุกหรือไม่?
- พบการต่อเติมปรับปรุงหรือไม่ ? 4 ชั้น เป็น 5 ชั้น
- พบการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยหรือไม่?
- พบการเปลี่ยนแปลงการใช้วัสดุหรือไม่ ? ผนังทาสี เปลี่ยนเป็นผนังกรุหินธรรมชาติ เป็นต้น
ทั้งนี้ ปัญหาอาคารร้าวทรุด กระทั้งถึงขั้นถล่ม อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น
1.เจ้าของอาคารเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน สมรู้ร่วมคิดกับเจ้าหน้าที่รัฐต่อเติมอาคารผิดไปจากแบบเพื่อหารายได้กับ พื้นที่ที่งอก เช่นแบบก่อสร้างกำหนดแค่ 3 ชั้น ก็ต่อเติมเพิ่ม อีก 2 ชั้นเป็น 5 ชั้น
2. โครงสร้างอาคารกับการใช้ประโยชน์ไม่สอดคล้องกันหรือใช้พื้นที่ของอาคารผิด ประเภทผิดวัตถุประสงค์ เช่นชั้นดาษฟ้ามักเป็นพื้นที่เปิดโล่ง แต่กลับกลายเป็นพื้นที่ที่ตั้งสำรองของแท็งค์น้ำขนาดใหญ่ จำนวนมาก
3. มีการดัดแปลงการใช้อาคารผิดประเภท เช่น จากโครงสร้างของ โกดัง คลังสินค้า กลับต่อเติมเป็น ดิสเค้าสโตว์ ห้างสรรพสินค้า
4.การลดสเปกวัสดุก่อสร้างเพื่อต้นทุนที่ถูกลง
5.สภาพอาคารเก่าโครงสร้างเสื่อม
6. ละเลยการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยหากเกิดเพลิงไหม้นานๆโครงสร้างจะเสื่อม และทรุดตัวได้ เป็นต้น
3. บทลงโทษ
บทลงโทษตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ 2522 มาตรา 65 ทวิ
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 ทวิ ( การส่งรายงานตรวจสอบอาคาร ) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง อีกทั้งมีผลกระทบด้านอื่น เช่น ในกรณีที่ต้องใช้ใบรับรองอาคาร ประกอบในเอกสารขออนุญาตอื่น เช่น ใบประกอบการโรงงาน ใบประกอบการโรงแรม เป็นต้น
4. สรุป
ตามมาตรา ๓๒ ทวิ (๓) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี เพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยในการใช้อาคาร โดยการตรวจสอบอาคารนั้นเราเน้นเรื่องการเตือน ไม่ใช่เป็นการตรวจว่าอาคารก่อสร้างถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ คุณพันกรณ์ ชีวะวุฒิวัฒนวิทย์ ซึ่งกรุณาสละเวลา ให้ความรู้และคำแนะนำตลอดการสัมมนา จึงทำให้บทความนี้สำเร็จลงได้
เอกสารอ้างอิง
[1] นาย ประสงค์ ธาราไชย, 2544. ประสบการณ์งานช่าง. สถานที่พิมพ์วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.).
[2] ฝ่ายวิชาการสูตรไพศาล, 2554. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2550-2553 . สถานที่พิมพ์ : สูตรไพศาล , สนพ.

ประประวัติผู้เขียน
นายอภิวัฒน์ ตั้งวิทย์โมไนย
ปริญญาตรี มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้า ธนบุรี วิศวกรรมโยธา
ตำแหน่งหน้าที่ วิศวกรโยธา บริษัท ชาร์เตอร์-นิช จำกัด

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

อาคารต้นแบบลดโลกร้อน



อาคารต้นแบบลดโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจากก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) ยังมีคนจำนวนมากขาดความเข้าใจทุกคนในโลก มีส่วนร่วมกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพียงแต่จะมากหรือน้อยนั้นย่อมแตกต่าง กัน การใช้เครื่องอำนวยความสะดวกประเภทต่างๆ ยิ่งบุคคลใดอุปโภค บริโภคมาก หรือใช้ชีวิตพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมากก็มีส่วนทำให้เกิด “ภาวะโลกร้อน” มากขึ้น
การออกแบบอาคารประหยัดพลังงานที่มีแนวคิดการออกแบบให้สอด คล้องกับทิศทางของแดดและลม และแนวคิดในการสร้างสภาวะความสบาย เน้นการประหยัดพลังงานเพื่อลดภาวะโลกร้อน โดยการนำแสงสว่างธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในบ้าน เลือกใช้สถาปัตยกรรมในเขตเมืองร้อน รวมทั้งการนำลักษณะของสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความคุ้นเคยแก่ผู้ ใช้อาคาร เช่น หลังคาจั่ว ค้ำยัน การใช้ไม้ในส่วนราวกันตก นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเป็นอาคารประหยัดพลังงานในปัจจุบัน และเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ที่หาได้ง่าย การวางอาคารทาวน์เฮาส์ทางด้านหน้าด้านหลังหันไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ด้านข้างอยู่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ซึ่งทำให้ตัวอาคารได้รับกระแสลมอย่างเต็มที่ และได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์น้อย ในการออกแบบช่องเปิดให้รับกระแสลมเพื่อช่วยในการระบายอากาศภายในอาคาร โดยทุกห้องมีช่องเปิดรับลม และช่องให้ลมออก ซึ่งช่วยให้ระบายอากาศได้ดีกว่าการมีช่องเปิดเพียงด้านเดียว ในส่วนของห้องนอนออกแบบปล่องระบายอากาศ อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะลอยตัวสูงขึ้นและระบายออกจากอาคารทางช่องระบายอากาศ ด้านบน การเลือกวัสดุประกอบอาคารที่สกัดกั้นความร้อนและความชื้นจากภายนอกอาคาร ทำให้เกิดความเย็น ต้องเป็นวัสดุที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนต่ำและเป็นวัสดุที่เป็น ฉนวนกันความร้อน ทำให้เกิดความเย็น การเลือกใช้พลังงานทางเลือก เช่นระบบเครื่องทำน้ำร้อน ซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การหมุนเวียนพลังงานความร้อนจากเครื่องใช้ในบ้านมาทำความร้อนหรืออุปกรณ์ให้แสงสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์
เห็นได้ว่าการออกแบบที่ใช้หลักการออกแบบให้เกิดความเย็นสบายในอาคารโดยใช้ วิธีธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการนำความเย็นจากดินมาใช้ การระบายอากาศ การนำแสงสว่างธรรมชาติมาใช้ในอาคาร นับเป็นวิธีที่ช่วยลดการใช้พลังงาน และลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการก่อสร้างที่ได้มาตรฐานและข้อกำหนด


งานคอนกรีต
ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคารมีความสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้บ้านที่สร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับ คอนกรีต ในงานโครงสร้างอาคาร โดยการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานในงานโครงสร้าง เสา, คาน, และพื้น เพราะสามารถควบคุมคุณภาพและส่วนผสมของ ปูนซิเมนต์ หิน ทราย และน้ำ ตามมาตรฐานวิศวกรรม ทำให้ได้คุณภาพที่แน่นอน กว่าการใช้โม่ผสมเอง ไม่เกิดความเสียหายแก่คอนกรีตโครงสร้าง และทำให้บ้านมีอายุการใช้งานยาวนาน
นอกจากนี้ในส่วนของโครงสร้างคานชั้นหลังคานั้น วิศวกรของบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นมาตรฐาน โดยให้คานโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเท่านั้น(ไม่ใช้เหล็กรูปพรรณ) ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างของบ้านมั่นคงแข็งแรง มีความคงทนและมีอายุการใช้งานของอาคารที่ยาวนานขึ้น
ข้อพึงปฏิบัติ
1. การเทคอนกรีตโครงสร้างแต่ละประเภท ควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องจนแล้วเสร็จในคราวเดียว ถ้าต้องมีการหยุดเทคอนกรีตให้หยุดเทคอนกรีตได้ตามตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด เช่น เสา หยุดเทที่ระดับท้องคานที่เสารองรับและต้องเป็นแนวระดับ , คาน หยุดเทได้ที่กึ่งกลางคานและแนวที่หยุดต้อเป็นแนวดิ่ง ฯลฯ เป็นต้น
2. ขณะเทคอนกรีต ควรให้มีผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรอยู่ประจำระหว่างเทคอนกรีต เพื่อคอยควบคุมการเทคอนกรีตให้เป็นไปตามข้อกำหนด

งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
การเทคอนกรีตจะต้องประกอบแบบหล่อคอนกรีตให้มั่นคงแข็งแรง (ควรใช้แบบเหล็ก) การค้ำยันต้องมีระยะห่างและเวลาตามข้อกำหนดมาตรฐาน เช่น ค้ำยันท้องคาน อย่างน้อย 14 วัน เป็นต้น
ข้อพึงปฏิบัติ
1. ระยะเวลาในการถอดแบบท้องคาน 7 วัน และค้ำยันต่อจนครบ 14 วัน
2. มาตรฐานเหล็กเส้นกลม SR – 24 ให้ใช้ของ บลส , บลกท , GSS , BSI มีขนาดและลักษณะตามที่กำหนด
3. มาตรฐานเหล็กข้ออ้อย SD – 30 ให้ใช้ของ บลส , บลกท , GSS , BSI มีขนาดและลักษณะตามที่กำหนด
4. เหล็กเสริมในคาน ค.ส.ล. เหล็กบนให้ต่อทาบเฉพาะกึ่งกลางคาน ส่วนเหล็กล่างให้ต่อที่หัวเสา โดยมีระยะทาบเหล็กไม่น้อยกว่า 5. 50 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็ก แต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 ซม.
5. ก่อนทำการเทคอนกรีต จะต้องทำความสะอาดแบบหล่อทุกครั้งและหนุนลูกปูนให้เรียบร้อย

อาคารจะแข็งแรงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัสดุและอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน การคำนวณที่ถูกต้องและแม่นยำจากผู้ออกแบบ หรือวิศวกร ซึ่งเป็นผู้ชำนาญในวิชาชีพนั้น การดูแลและควบคุมการก่อสร้างโดยองค์กร และขั้นตอนการก่อสร้างที่ได้มาตรฐานและข้อกำหนด ต่างๆ เหล่านี้จะต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ มีความละเอียด ถี่ถ้วน เพื่อช่วยตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในงานก่อสร้างอีกชั้นหนึ่ง ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่สามารถจะยืนยันในเบื้องต้นได้ว่าโครงสร้างที่ดูว่าสวยงามจากภายนอกนั้น แท้จริงภายในยังมีความแข็งแรง ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและสามารถจะใช้งานได้อย่างยาวนาน

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การตรวจสภาพอาคาร

การตรวจสภาพอาคาร
เนื่องจากอาคารแต่ละประภทนั้นมีอายุการใช้งานไม่เท่ากัน ตามพรบ.ควบคุมอาคาร พศ.2522 และแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2543 กำหนดให้อาคารต้องมีการตรวจสอบอาคารทุก ๆ ปี
การตรวจสอบอาคาร มีเป้าหมายการตรวจเพื่อให้อาคารมีความปลอดภัยทั้งด้านโครงสร้างและระบบประกอบอาคาร โดยเน้นเรื่องการเตือน ต่อสู้และหนี กรณีมีอัคคีภัย ไม่ใช่เป็นการตรวจเพื่อประเมินราคาของอาคารและไม่ได้ตรวจว่าอาคารก่อสร้างผิดกฎหมายหรือไม่
อาคารทุกอาคารเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ควรมีระบบปฏิบัติการและบำรุงรักษาอาคารให้อยู่ในสภาพดีอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจเรียกได้ว่า ควรมีระบบ “O and M” โดย “O” ย่อมาจาก Operate หมายถึง ระบบปฏิบัติการ และ “M” ย่อมาจาก Maintenance หมายถึง ระบบการบำรุงรักษา ดังนั้น ระบบ “O and M” จึงหมายถึง ระบบปฏิบัติการและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดี เพื่อให้อาคารนั้น ๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และใช้งานได้ตลอดเวลา การตรวจสอบการบำรุงรักษาที่ว่านี้ เจ้าของอาคารสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจมีระบบการตรวจติดตามภายใน ( Internal Audit )ด้วยก็ยิ่งดี และเป็นสิ่งที่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนการตรวจสภาพอาคารตามกฎกระทรวงฯ นั้น เป็นการสอบทานหรือตรวจติดตามจากภายนอก ซึ่งเป็นการ Audit โดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งผู้ตรวจสอบที่ว่านี้จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรม การสอบและขึ้นทะเบียนกับกรมโยธาธิการ